ข้อแนะนำในการล้างมืออย่างถูกต้อง
การล้างมือที่ถูกต้องเป็นการปฏิบัติตนที่สำคัญด้านสุขอนามัยในการป้องกันการติดเชื้อโรค
และการแพร่กระจายโรคที่ติดต่อกันได้
เราควรล้างมือเมื่อใด?
- ก่อนสัมผัสตา จมูก และปาก
- ก่อนทานหรือหยิบจับอาหาร
- หลังจากใช้ห้องน้ำ
- เมื่อมือเปื้อนสิ่งคัดหลั่งจากการหายใจ เช่น หลังจากไอหรือจาม เป็นต้น
- หลังจากสัมผัสเครื่องที่ติดตั้งหรืออุปกรณ์ต่างๆ ในที่สาธารณะ เช่น ราวจับบันไดเลื่อน แผงควบคุมลิฟต์ หรือลูกบิดประตู เป็นต้น
- หลังจากเปลี่ยนผ้าอ้อมหรือจับสิ่งของที่เปรอะเปื้อน เมื่อดูแลเด็กเล็กหรือผู้ป่วย
ขั้นตอนในการล้างมือให้สะอาด
- เปิดน้ำจากก๊อกให้มือเปียก
- ล้างมือด้วยสบู่เหลวและถูมือทั้งสองข้างเพื่อให้เกิดฟอง
- ถูฝ่ามือ หลังมือ ช่องระหว่างนิ้วมือ หลังนิ้วมือ นิ้วหัวแม่มือ ปลายนิ้วมือและข้อมือ โดยไม่ให้ถูกน้ำจากก๊อก โดยใช้เวลาอย่างน้อย 20 วินาที
- เปิดน้ำจากก๊อกล้างมือให้ทั่ว
- เช็ดมือให้แห้งโดยใช้ผ้าเช็ดมือที่สะอาด กระดาษเช็ดมือ หรือเครื่องเป่ามือ
- ไม่ควรใช้มือที่ล้างสะอาดแล้วไปสัมผัสกับก๊อกน้ำโดยตรงอีก
- อาจปิดก๊อกน้ำโดยใช้ผ้าเช็ดมือจับหัวก๊อก หรือ
- หลังจากใช้มือรองน้ำจากก๊อกล้างหัวก๊อกนั้น หรือให้คนอื่นปิดก๊อกให้
โปรดจำไว้ว่า:
- อย่าใช้ผ้าเช็ดมือร่วมกับผู้อื่น
- ควรทิ้งกระดาษเช็ดมือที่ใช้แล้วให้เรียบร้อย
- ผ้าเช็ดมือส่วนตัวที่จะนำกลับมาใช้อีกต้องเก็บไว้ในที่ที่สะอาด และซักเป็นประจำอย่างน้อยวันละหนึ่งครั้ง แต่ถ้าจะให้ดีกว่านั้น ควรมีผ้าเช็ดมือมากกว่าหนึ่งผืนเพื่อนำมาเปลี่ยนแทนกันได้หลายๆ ครั้ง
- ถูมือด้วยแอลกอฮอล์ชนิด 70-80% เพื่อฆ่าเชื้อเมื่อไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการล้างมือ