(麻疹 - 泰文版)
โรคหัด
สาเหตุที่ก่อให้เกิดโรค
โรคที่เกิดจากไวรัสที่เรียกว่า ไวรัสหัด
ลักษณะอาการของโรค
โรคหัดเป็นโรคติดเชื้อที่มักพบในวัยเด็กก่อนที่จะมีการนำวัคซีนโรคหัดมาใช้ ผู้ที่ได้รับเชื้อจะมีอาการเริ่มแรกด้วยการมีไข้ ไอ น้ำมูกไหล ตาแดง และมีจุดสีขาวอยู่ภายในปาก หลังจากนั้น 3 ถึง 7 วัน จะมีผื่นแดงขึ้นบนผิวหนังซึ่งมักจะกระจายจากใบหน้าไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย มักมีอาการผื่นแดงยาวนาน 4-7 วัน แต่สามารถอยู่ได้นานถึง 3 สัปดาห์โดยมีคราบสีน้ำตาล และบางครั้งมีผิวหนังลอก ในกรณีรุนแรงอาจส่งผลกระทบต่อปอด ลำไส้ และสมองได้ และอาจนำไปสู่ผลร้ายแรงตามมา หรือแม้กระทั่งเสียชีวิต
การติดเชื้อโรคหัดในระหว่างตั้งครรภ์สามารถส่งผลให้เกิดการคลอดที่ไม่พึงประสงค์ได้ รวมไปถึงการแท้ง การคลอดก่อนกำหนด และน้ำหนักเด็กต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน แต่ไม่มีหลักฐานมาสนับสนุนว่าจะเพิ่มความเสี่ยงให้กับทารกเกิดความพิการแต่กำเนิด นอกจากนี้ ทารกแรกเกิดที่ติดเชื้อจากมารดาที่มีโรคหัดในระยะเวลาไม่นานก่อนการคลอดบุตรจะมีความเสี่ยงต่อโรคภาวะสมองอักเสบแบบกึ่งเฉียบพลันต่อเด็กเพิ่มขึ้น (เกิดขึ้นได้ยากแต่เป็นโรคที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางที่อันตรายถึงชีวิต) เมื่อเด็กเติบโตขึ้น
วิธีการแพร่กระจาย
โรคนี้สามารถแพร่กระจายได้ผ่านการติดต่อกันทางลมหายใจ หรือการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งจากจมูก หรือลำคอของผู้ที่ติดเชื้อ และพบได้น้อยโดยการแพร่กระจายด้วยการปนเปื้อนของสารคัดหลั่งจากจมูก หรือลำคอบนสิ่งของต่าง ๆ โรคหัดเป็นหนึ่งในโรคติดเชื้อที่สามารถติดต่อได้ง่ายที่สุด ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่นได้ตั้งแต่ 4 วันก่อน และหลัง 4 วันหลังจากที่ปรากฎผื่นแดงขึ้น
ระยะฟักตัว
โดยทั่วไปจะมีระยะเวลาตั้งแต่ 7-18 วัน แต่สามารถอยู่ได้นานถึง 21 วัน
การจัดการ
ผู้ที่ติดเชื้อควรหลีกเลี่ยงการติดต่อกับผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ สตรีมีครรภ์ และเด็กทารก แม้ว่าจะไม่มีการรักษาเฉพาะทาง แต่สามารถสั่งจ่ายยาเพื่อลดอาการได้ และยาปฏิชีวนะอาจถูกนำมาใช้ในการรักษาภาวะแทรกซ้อนของแบคทีเรียได้
การป้องกัน
1. รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี
- ทำความสะอาดมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะก่อนสัมผัสที่ปาก จมูก หรือตา หลังจากการสัมผัสสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในห้องน้ำสาธารณะ เช่น ราวจับ หรือกลอนประตู หรือเมื่อมือเปื้อนสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจหลังจากการไอ หรือการจาม ล้างมือด้วยสบู่เหลว แล้วขัดถูมือเป็นเวลา 20 วินาที จากนั้นล้างออกด้วยน้ำ แล้วทำให้แห้งด้วยกระดาษใช้แล้วทิ้ง หรือเครื่องเป่ามือ หากไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการล้างมือ หรือเมื่อมือเปื้อนโดยที่ไม่สามารถมองเห็นได้ เจลล้างมือที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ 70 ถึง 80% เนื่องจากเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพ
- ปิดปาก และจมูกด้วยกระดาษชำระเมื่อทำการจาม หรือไอ ทิ้งกระดาษชำระที่เปื้อนลงในถังขยะที่มีฝาปิด จากนั้นล้างมือให้สะอาดทั่วถึง
- เมื่อมีไข้ ผื่นแดง หรืออาการเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ให้สวมใส่หน้ากากอนามัย งดการไปทำงาน หรือโรงเรียน หลีกเลี่ยงการไปในสถานที่แออัด และเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์ทันที
- ผู้ที่ติดเชื้อโรคหัดควรพักอยู่ที่บ้าน อยู่ห่างจากโรงเรียน/โรงเรียนอนุบาล/ศูนย์ดูแลเด็กเล็กก่อนเข้าเรียนโรงเรียนอนุบาล/ ศูนย์ดูแลเด็กเล็ก / ที่ทำงาน เป็นเวลา 4 วัน นับตั้งแต่มีผื่นแดงปรากฎขึ้นเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปยังผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน
2. รักษาสุขอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี
- รักษาสภาพแวดล้อมให้สะอาด ฆ่าเชื้อพื้นผิวที่ถูกสัมผัสเป็นประจำ เช่น เฟอร์นิเจอร์ ของเล่น และสิ่งของที่มักใช้ร่วมกันด้วยสารฟอกขาวที่ใช้ภายในบ้านชนิดเจือจางอัตรา 1:99 (ส่วนผสม 1 ส่วนของน้ำยาฟอกขาว 5.25% กับน้ำ 99 ส่วน) ปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลา 15 – 30 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำ จากนั้นทำให้แห้ง สำหรับพื้นผิวที่เป็นโลหะ ให้ใช้แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ 70%
- ใช้ผ้าขนหนูซับน้ำที่ใช้แล้วทิ้งเช็ดสิ่งปนเปื้อนที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น สารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ แล้วทำการฆ่าเชื้อบนพื้นผิว และพื้นที่ใกล้เคียงด้วยสารฟอกขาวที่ใช้ภายในบ้านชนิดเจือจางอัตรา 1:49 (ส่วนผสม1 ส่วนของน้ำยาฟอกขาว 5.25% กับน้ำ 49 ส่วน) ทิ้งไว้เป็นเวลา 15 – 30 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำ จากนั้นทำให้แห้งสำหรับพื้นผิวที่เป็นโลหะ ให้ใช้แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ 70%
- รักษาถ่ายเทอากาศภายในห้องให้ดี หลีกเลี่ยงการออกไปในที่แออัด หรือสถานที่สาธารณะที่มีอากาศถ่ายเทไม่ดี บุคคลที่มีความเสี่ยงสูงควรสวมใส่หน้ากากอนามัยในสถานที่เหล่านั้น
3. การฉีดวัคซีน
- การฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเป็นมาตรการการป้องกันที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ภายใต้โครงการด้านการฉีดวัคซีนป้องกันโรคในวัยเด็กของฮ่องกงนั้นเด็ก ๆ จะได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดสองเข็ม (โปรดอ้างอิงไปยังโครงการด้านการฉีดวัคซีนป้องกันโรคในวัยเด็กของฮ่องกง)
- สถานที่ที่แตกต่างกันจะพัฒนาโครงการด้านการฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่แตกต่างกันออกไปตามข้อมูลทางระบาดวิทยาของแต่ละสถานที่ พ่อ แม่ควรจัดเตรียมให้เด็ก ๆ ได้รับวัคซีนตามโครงการด้านการฉีดวัคซีนป้องกันโรคภายในท้องถิ่นของพื้นที่พักอาศัยของตน ตัวอย่างเช่น เด็กที่มีอายุต่ำกว่าหนึ่งปี และมักเดินทางไป หรือพำนักอยู่ในแผ่นดินใหญ่บ่อยครั้งควรปฏิบัติตามตารางการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดของแผ่นดินใหญ่ วัคซีนป้องกันโรคหัดเข็มเรกจะได้รับเมื่อมีอายุ 8 เดือน ตามด้วยเข็มที่สองเมื่อมีอายุ 18 เดือน
- ผู้ช่วยแม่บ้านชาวต่างชาติ (FDH) ทุกคนที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน @ ต่อโรคหัดควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน (MMR) ก่อนเดินทางมาถึงฮ่องกงจะดีที่สุด หากไม่สามารถทำได้ พวกเขาสามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์หลังจากที่ได้เดินทางมาถึงฮ่องกงแล้ว หน่วยงานผู้จ้างงานสามารถพิจารณาเพิ่มการประเมินสถานะของการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด หรือหัดเยอรมันให้กับ FDH เพิ่มเติมในรายการของแพ็คเกจการตรวจสุขภาพก่อนการจ้างงานได้
- สตรีมีครรภ์ และสตรีที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ควรเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาหากพวกเขาไม่แน่ใจว่าพวกเขามีภูมิคุ้มกันโรคหัดแล้วหรือไม่ เนื่องจากไม่สามารถให้วัคซีนป้องกันโรคหัดได้ในขณะกำลังตั้งครรภ์ ขอแนะนำไม่ให้พวกเขาเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด หรือมีโรคหัดในพื้นที่สูงหากพวกเขาไม่มีภูมิคุ้มกันโรคหัด
- โดยทั่วไป บุคคลต่อไปนี้ไม่ควรได้รับวัคซีนป้องกันโรค MMR *:
- ผู้ที่มีปฏิกิริยาการแพ้อย่างรุนแรงต่อวัคซีนป้องกันโรค MMR เข็มก่อนหน้า หรือส่วนประกอบต่าง ๆ ของวัคซีน (เช่น เจลาติน หรือนีโอมัยซิน)
- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องรุนแรงจากโรค หรือการรักษา (เช่น การรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบัน เช่น เคมีบำบัด และรังสีบำบัด การรับประทานยาภูมิคุ้มกันโรค เช่น มีปริมาณของคอร์ติโคสเตียรอยด์สูง เป็นต้น)
- สตรีมีครรภ์#
@โดยทั่วไป ผู้คนอาจพิจารณาว่าไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคหัด หาก (i) พวกเขาได้รับการยืนยันจากการทดสอบในห้องปฏิบัติการว่าไม่มีการติดเชื้อมาก่อน และ (ii) พวกเขาไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดครบปริมาณของยา หรือไม่รู้สถานะของการฉีดวัคซีนป้องกันโรค
^ควรเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์เสมอ
*ตามข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก และศูนย์ควบคุม และป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกาพบว่าปฏิกิริยาการแพ้ต่อวัคซีน MMR นั้นไม่เกี่ยวข้องกับสารกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันจากไข่แต่เป็นส่วนประกอบอื่น ๆ ของวัคซีน (เช่น เจลาติน) ความเสี่ยงในการเกิดปฏิกิริยาการแพ้อย่างรุนแรงจากสารกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันจากไข่หลังจากได้รับวัคซีนเหล่านี้เกิดขึ้นได้น้อยมาก ดังนั้นผู้ที่มีภาวะแพ้สารกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันจากไข่ที่ไม่รุนแรงควรได้รับวัคซีน MMR อย่างปลอดภัย ปฏิกิริยาการแพ้รุนแรง (เช่นการแพ้ชนิดรุนแรง) ต่อไข่ควรได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพสำหรับการเข้ารับวัคซีนในรูปแบบที่เหมาะสม
#โดยทั่วไป สตรีควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์เป็นระยะเวลาสามเดือนหลังจากได้รับวัคซีนป้องกันโรค MMR และใช้มาตรการคุมกำเนิดอย่างเหมาะสม
9 July 2019