Skip to content
Printer Friendly bookmark
qrCode

Main Content

Dengue Fever Pamphlet - Thai Version
Close
Dengue Fever Pamphlet - Thai Version

(Dengue Fever – Thai Version)

ไข้เลือดออก

เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ

ไข้เลือดออกเป็นโรคที่ติดเชื้อจากยุงอย่างเฉียบพลันโดยเกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี่ ซึ่งพบได้ในเขตร้อนและ เขตร้อนชื้นทั่วโลก ตัวอย่างเช่นโรคไข้เลือดออกเป็นโรคระบาดในหลายประเทศ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไวรัสเด็งกี่ประกอบด้วยไวรัสที่แตกต่างกัน 4 ชนิดซึ่งแต่ละชนิดสามารถนำไปสู่โรคไข้เลือดออกและไข้เลือดออกที่รุนแรงได้ (โรคไข้เลือดออกเด็งกี )

อาการของโรค

ไข้เลือดออกมีลักษณะอาการคือ มีไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง ปวดหลังกล้ามเนื้อและปวดข้อ คลื่นไส้อาเจียน บวมที่ต่อมน้ำหลืองและผื่น คนที่ติดเชื้อบางคนอาจมีอาการไม่ชัดเจนและบางคนอาจมีอาการเล็กน้อยเช่นไข้ เด็กเล็กอาจมีอาการไข้ที่ไม่เฉพาะเจาะจงร่วมกับผื่น

อาการของการติดเชื้อครั้งแรกมักจะไม่รุนแรง เมื่อฟื้นตัว ภูมิคุ้มกันแบบตลอดชีพของไวรัสเด็งกี่จะพัฒนาขึ้น อย่างไรก็ตามภูมิคุ้มกันข้ามสายพันธุ์กับเชื้อไวรัสอีกสามชนิด หลังจากหายไข้แล้วจะมีเหลือเพียงบางส่วนและชั่วคราวเท่านั้น การติดเชื้อในระยะหลัง ๆ ของไวรัสเด็งกี่มีแนวโน้มที่จะส่งผลให้เกิดไข้เลือดออกรุนแรงขึ้น

ไข้เลือดออกรุนแรงเป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงและอาจทำให้เสียชีวิตได้ ในขั้นต้นจะมีอาการไข้สูงซึ่งกินเวลานาน 2 - 7 วันและอาจสูงถึง 40 - 41 องศาเซลเซียส ผิวหน้าแดง และอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจงของโรคไข้เลือดออก ต่อมาอาจมีสัญญาณเตือนเช่นปวดท้องอย่างรุนแรง อาเจียนเรื้อรัง หายใจเร็ว อ่อนเพลีย กระวนกระวายใจและอาการของภาวะเลือดออกเช่น ผิวหนังช้ำ จมูกหรือเหงือกตกเลือดและอาจมีเลือดออกภายใน ในกรณีที่รุนแรงอาจมีนำไปสู่ระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลว ช็อกและเสียชีวิต

วิธีนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย

ไข้เลือดออกจะแพร่กระจายไปยังมนุษย์ผ่านทางกัดของยุงลายตัวเมียที่ติดเชื้อ   เมื่อผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออกเพราะถูกยุงเป็นพาหะกัด ยุงจะติดเชื้อและอาจแพร่กระจายโรคได้โดยการกัดคนอื่น โรคไม่สามารถแพร่เชื้อได้โดยตรงจากคนสู่คน ในฮ่องกง ไม่พบพาหะหลักอย่างยุง Aedes aegypti   แต่มียุงAedes albopictus ซึ่งยังสามารถแพร่กระจายโรคได้และเป็นยุงที่พบได้ทั่วไปในฮ่องกง

ระยะฟักตัว

ระยะฟักตัวอยู่ระหว่าง 3 - 14 วัน โดยปกติ 4-7 วัน

การป้องกัน

ปัจจุบันไม่มีวัคซีนเด็งกี่ที่จดทะเบียนในฮ่องกง มาตรการป้องกันที่ดีที่สุดในฮ่องกงคือการกำจัดแหล่งที่มีน้ำขังซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและหลีกเลี่ยงการถูกยุงกัด

มาตรการทั่วไปในการป้องกันโรคที่เกิดจากยุง

1. สวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่มีสีอ่อน และใช้ยาไล่แมลง DEET ในส่วนที่สัมผัสกับร่างกายและเสื้อผ้า
2. มีการป้องกันเพิ่มเติม หากต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง:

  • หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีกลิ่นหอม
  • ใช้ยาไล่แมลงตามที่ได้แนะนำอีกครั้ง

3. หมายเหตุ เมื่อเดินทางไปต่างประเทศ:

  • หากไปที่พื้นที่หรือประเทศที่ได้รับผลกระทบ ให้ปรึกษาแพทย์อย่างน้อย 6 สัปดาห์ก่อนการเดินทางและมีมาตรการป้องกันพิเศษเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกยุงกัด
  • ในระหว่างการเดินทาง หากเดินทางในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบในแถบชนบทให้พกมุ้งและทา permethrin (ยาไล่แมลง)บนมุ้ง ไม่ควรใช้ Permethrin กับผิวหนัง ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีหากรู้สึกไม่สบาย
  • การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่าผู้ติดเชื้อสามารถส่งไวรัสไปยังยุงได้โดยการถูกยุงกัดแม้ว่าพวกเขาจะยังคงมีอาการหรือก่อนเริ่มมีอาการ ซึ่งจะนำไปสู่การแพร่ระบาดของโรคต่อไป ดังนั้นหลังกลับจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบควรใช้ยาไล่แมลงเป็นเวลา 14 วันหลังจากที่มาถึงฮ่องกง หากรู้สึกไม่สบายเช่นมีไข้ควรปรึกษาแพทย์ทันทีและแจ้งรายละเอียดการเดินทางให้แพทย์ทราบ

ช่วยป้องกันการขยายพันธุ์ของยุง

1. ป้องกันการสะสมของน้ำขัง

  • เปลี่ยนน้ำในแจกันสัปดาห์ละครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการใช้จานรองใต้กระถางดอกไม้
  •  ปิดภาชนะบรรจุน้ำให้แน่น
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าถาดน้ำหยดของเครื่องปรับอากาศปราศจากน้ำขัง
  • ปิดฝาภาชนะบรรจุน้ำให้แน่น 
  •   ใส่กระป๋องและขวดที่ใช้แล้วทั้งหมดลงในถังขยะที่มีฝาปิดไว้

2.  ควบคุมพาหะและแหล่งเพาะเชื้อโรค

  • เก็บอาหารและทิ้งขยะอย่างเหมาะสม

หญิงตั้งครรภ์และเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไปที่เดินทางไปยังประเทศหรือบริเวณที่มีโรคติดเชื้อจากยุงหรือโรคระบาดสามารถใช้ยาไล่แมลง DEET ได้ เด็กที่มีอายุ 2 เดือนขึ้นไปสามารถใช้ยาไล่แมลงที่มี DEET ได้โดยมีความเข้มข้นของ DEET ได้สูงสุดถึง 30% สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้สารไล่แมลงและประเด็นสำคัญที่ต้องปฏิบัติตามโปรดดูที่ 'เคล็ดลับการใช้สารไล่แมลง'

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันยุง โปรดไปที่เว็บไซต์ของแผนกอาหารและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม (FEHD) ที่ http://www.fehd.gov.hk/english/pestcontrol/handbook_prev_mos_breeding.html

22 สิงหาคม 2561

 
First page  Previous page  / 3  Next page  Last page
Top   Top
 

Main Content

Dengue Fever Pamphlet - Thai Version
Close