(Zika virus infection – Thai version)
การติดเชื้อไวรัสซิกา
สาเหตุที่ก่อให้เกิดโรค
การติดเชื้อไวรัสซิกา เป็นโรคที่เกิดจากวงจรการแพร่เชื้อไวรัสที่ติดต่อจากยุงซึ่งทำให้เกิดไวรัส
ซิกา
ลักษณะ และอาการของโรค
การติดเชื้อไวรัสซิกาส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการมักจะแสดงอาการที่พบกันโดยทั่วไป คือ ผื่นแดงตามร่างกาย เป็นไข้
เยื่อบุตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อ หรือข้อต่อ และรู้สึกไม่สบายตัวทั่ว ๆ ไป
อาการเหล่านี้มักไม่รุนแรง และมีอาการอยู่ได้นานเพียงไม่กี่วันเท่านั้น
ปัจจุบัน ความกังวลหลัก ๆ ก็คือ ความสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อเด็ก (ศีรษะเล็ก)
รวมทั้งอาการแทรกซ้อนทางประสาทวิทยา และโรคภูมิแพ้ตัวเอง เช่น กลุ่มอาการกูเลนแบร์ (GBS)
องค์การอนามัยโลกได้สรุปว่าการติดเชื้อไวรัสซิการะหว่างการตั้งครรภ์ก่อให้เกิดภาวะพิการแต่
กำเนิดทางสมอง รวมไปถึงขนาดของศีรษะเล็ก และซิกายังทำให้เกิด GBS
นอกเหนือไปจาก GBS แล้วยังก่อให้เกิดภาวะสมองอักเสบเฉียบพลันอีกด้วย
(โรคระบบประสาทส่วนกลาง)
พบว่าเป็นหนึ่งในอาการทางระบบประสาทที่อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสซิกา
วิธีการแพร่กระจาย
ไวรัสซิกาส่วนใหญ่แพร่กระจายไปสู่คนผ่านการกัดของยุงลายที่ติดเชื้อ ยุงลาย ยุงไข้เหลือง
ซึ่งปัจจุบันถือว่าไม่พบพาหะที่สามารถแพร่เชื้อไวรัสโรคซิกาไปสู่คนได้ใน ยุงลายสายพันธุ์อื่น ๆ
เช่น Aedes albopictus ที่พบได้ทั่วไปในฮ่องกงนั้นถือว่าเป็นพาหะที่มีศักยภาพในการ
แพร่เชื้อด้วยเช่นกัน
ไวรัสซิกายังสามารถพบได้ในน้ำอสุจิของมนุษย์อีกด้วย และแพร่กระจายผ่านทางการมีเพศ
สัมพันธ์
การแพร่เชื้อทางการมีเพศสัมพันธ์ของไวรัสซิการะหว่างเพศชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายด้วย ั
กันก็ได้มีการบันทึกไว้เป็นเอกสารแล้ว วิธีการแพร่กระจายอื่น ๆ เช่น การถ่ายเลือด
และการติดต่อจากมารดาสู่ทารก ก็มีความเป็นไปได้เช่นกัน
ระยะฟักตัว
ระยะฟักตัวของการติดเชื้อไวรัสซิกาอยู่ระหว่าง 3 – 14 วัน
การจัดการ
ไม่มียารักษาโรคเฉพาะสำหรับการติดเชื้อไวรัสซิกา และการรักษาหลัก ๆ คือ
การบรรเทาอาการ และการป้องกันภาวะขาดน้ำ หากมีอาการแย่ลง
ผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษาทางการแพทย์ และขอคำแนะนำ
การป้องกัน
ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการรักษาการติดเชื้อไวรัสซิกา
ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสซิกา ประชาชนควรป้องกันตนเองจากการถูกยุงกัด
และช่วยป้องกันการแพร่พันธุ์ของยุง
ประชาชนยังควรระมัดระวังต่อการแพร่เชื้อทางการมีเพศสัมพันธ์ของไวรัสซิกาด้วย
มาตรการทั่วไปในการป้องกันโรคที่เกิดจากวงจรการแพร่เชื้อไวรัสที่ติดต่อจากยุง
- สวมใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ มีสีสว่าง เสื้อแขนยาว และกางเกงขายาว รวมทั้งใช้สารทา
ป้องกันยุงบนส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ไม่มีเสื้อผ้าปกคลุม และบนเสื้อผ้า
- ใช้มาตรการป้องกันเพิ่มเติมเมื่อทำกิจกรรมนอกอาคาร:
- หลีกเลี่ยงการใช้เครื่อสำอางที่มีกลิ่นหอม หรือผลิตภัณฑ์ดูแลผิว
- ทาสารป้องกันยุงอีกครั้งตามคำแนะนำ
- ข้อควรทราบเป็นพิเศษเมื่อเดินทางไปต่างประเทศ:
- หากกำลังเดินทางไปยัง พื้นที่แพร่เชื้อไวรัสซิกา (พื้นที่ได้รับผลกระทบ)
ผู้เดินทางโดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
หรือมีโรคเรื้อรังที่มีความรุนแรงควรเตรียมตัวเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์อย่า
งน้อย 6 สัปดาห์ก่อนการเดินทาง
และควรมีมาตรการป้องกันเพิ่มเติมเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกยุงกัด
- ผู้เดินทางโดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
หรือมีโรคเรื้อรังที่มีความรุนแรงควรเตรียมตัวเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์อย่า
งน้อย 6 สัปดาห์ก่อนการเดินทาง
และควรมีมาตรการป้องกันเพิ่มเติมเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกยุงกัด
- ในระหว่างการเดินทาง หากกำลังเดินทางในพื้นที่ได้รับผลกระทบในชนบท
ให้นำมุ้งแบบพกพาติดตัวไปด้วย ทาเพอร์เมทริน (สารกำจัดแมลง) บนมุ้ง
ไม่ควรทาเพอร์เมทรินบนผิวหนัง
เข้ารับการรักษาทางการแพทย์ทันทีเมื่อรู้สึกไม่สบาย
- ผู้เดินทางที่เดินทางกลับจากพื้นที่ได้รับผลกระทบควรทาสารป้องกันยุงเป็นเวลา
อย่างน้อย 21 วันหลังจากเดินทางมาถึงฮ่องกง หากรู้สึกไม่สบาย เช่น มีไข้
ควรเข้าปรึกษาแพทย์ทันที และแจ้งข้อมูลการเดินทางให้แพทย์ทราบ
สตรีมีครรภ์ และเด็กที่มีอายุ 6 เดือน หรือมากกว่า สามารถใช้สารทาป้องกันยุงได้
สำหรับเด็กที่เดินทางไปยังประเทศ หรือพื้นที่ต่าง ๆ
ที่มีวงจรการแพร่เชื้อไวรัสที่ติดต่อจากยุงซึ่งเป็นโรคประจำท้องถิ่น หรือโรคระบาด
และมีโอกาสได้รับเชื้อไวรัสนั้น เด็กที่มีอายุ 2 เดือน หรือมากกว่า
สามารถใช้สารทาป้องกันยุงเข้มข้น 30% สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับสารทาป้องกันยุง
และประเด็นสำคัญที่ควรสังเกต โปรดอ้างอิงไปยัง 'เคล็ดลับสำหรับการใช้สารทาป้องกันยุง'
การป้องกันการแพร่เชื้อทางเพศสัมพันธ์*
A. นักท่องเที่ยวควรพิจารณาหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างการ
เดินทางไปยังพื้นที่ได้รับผลกระทบ หรือมิเช่นนั้นควรใช้ถุงยางอนามัย
B. นักท่องเที่ยวชาย และหญิงที่กำลังเดินทางกลับจากพื้นที่ได้รับผลกระทบ
ควรงดการมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน และ 2 เดือน
ตามลำดับเมื่อเดินทางกลับ มิเช่นนั้นควรใช้ถุงยางอนามัย
C. สตรีมีครรภ์ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์กับคู่ครองของตนเองที่ได้เดินทางไปยังพื้นที่
ได้รับผลกระทบ หรือมิเช่นนั้นควรใช้ถุงยางอนามัยตลอดระยะเวลาที่มีครรภ์
*มาตรการป้องกันนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อมีข้อมูลเพิ่มเติม ผู้ที่กังวลเกี่ยวกับการแพร่เชื้อ
ไวรัสซิกาควรติดต่อแพทย์เพื่อขอรับคำแนะนำ
สตรีมีครรภ์ไม่ควรเดินทางไปยังพื้นที่แพร่เชื้อไวรัสซิกา ผู้หญิงที่กำลังวางแผนที่จะตั้งครรภ์ควรทราบในข้อ A และ B ตามที่ระบุไว้ข้างต้น หากผู้หญิงเหล่านี้ หรือคู่ครองฝ่ายชายวางแผนที่จะเดินทางไปยังพื้นที่แพร่เชื้อ ไวรัสซิกา พวกเขาควรเข้าปรึกษาเพื่อขอรับคำแนะนำจากเกี่ยวกับความเสี่ยง สำหรับนักท่องเที่ยว รวมถึงสตรี มีครรภ์ควรใช้สารทาป้องกันยุงในระหว่างการเดินทาง และการเดินทางกลับจากพื้นที่ได้รับผลกระทบ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 21 วัน
ขอแนะนำให้สตรีมีครรภ์:
- เข้าร่วมติดตามผลการฝากครรภ์เป็นประจำ และบอกเล่าประวัติการเดินทางล่าสุดให้กับ
แพทย์ผู้ทำการรักษาทราบ
- สังเกตอาการของการติดเชื้อไวรัสซิกา และเข้ารับคำแนะนำทางการแพทย์โดยเร็วหากรู้สึกไม่สบาย
- งดการมีเพศสัมพันธ์กับคู่ครองของตนที่ได้เดินทางไปยังพื้นที่ได้รับผลกระทบ หรือมิเช่นนั้น
ควรใช้ถุงยางอนามัยตลอดระยะเวลาที่มีครรภ์
|
ช่วยป้องกันการแพร่กระจายของยุง
- ป้องกันการสะสมของแหล่งน้ำขัง
- เปลี่ยนน้ำในแจกันสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง
- หลีกเลี่ยงการใช้จานรองกระถางต้นไม้ใต้กระถางต้นไม้
- ปิดฝาภาชนะกักเก็บน้ำให้มิดชิด
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าถาดรองน้ำของเครื่องปรับอากาศไม่มีน้ำขังอยู่
- นำกระป๋องที่ใช้งานแล้ว และขวดน้ำใส่เข้าไปในถึงขยะที่มีฝาปิด
- ควบคุมพาหะ และแหล่งสะสมของโรค
- จัดเก็บอาหาร และกำจัดขยะให้เหมาะสม
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการควบคุมและการป้องกันการแพร่พันธุ์ของยุง โปรดเข้าชมเว็บไซต์ของกรมสุขอนามัยด้านอาหาร และสิ่งแวดล้อม (FEHD)
ที่ http://www.fehd.gov.hk/english/pestcontrol/handbook_prev_mos_breeding.html
3 กรกฎาคม 2019